
กว่าจะมาเป็นหุ่นยนต์ในปัจจุบันได้ต้องผ่านแนวคิด และพัฒนามาอย่างยาวนานกว่าหลายพันปี และคำว่า “โรบอท” เป็นคำจากภาษาท้องถิ่น ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในการเล่นละคร R.U.S (Rossum’s Universal Robots) ซึ่งเป็นละครที่เกี่ยวกับกองทัพของเครื่องจักรที่ทำงานอย่างไม่หยุดยั้ง ในฐานะทาสของมนุษย์ จนในปัจจุบันเราได้นำคำนี้มาใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อใช้เรียกเครื่องจักรที่ทำงานด้วยตนเอง หรือ “อัตโนมัติ” หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน มนุษย์เคยมีความพยายามสร้างเครื่องจักรอัตโนมัติมานานกว่าพันปี มีหลักฐานชัดเจนว่าเคยมีแนวคิดและความพยายามในการสร้างขึ้นในช่วงปี 300 – 400 ค.ศ.
หุ่นยนต์จักรกลในปัจจุบันได้แนวคิด และพื้นฐานของเครื่องจักรในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมมาใช้ จากความต้องการบริโภคสินค้าภายในตลาดที่มากขึ้น นักประดิษจึงมองหาวิธีจะสร้างเครื่องจักรที่ช่วยในการผลิตสินค้าให้ได้ออกในปริมาณมาก ๆ ในเวลาที่รวดเร็ว รวมถึงงานที่ไม่สามารถใช้มนุษย์ทำได้ ในปี 1893 ศาสตราจารย์ชาวแคนาดา จอร์จ มัวร์ ได้สร้างเครื่องต้นแบบหุ่นมนุษย์เรียกว่า “สตีมแมน” สร้างจากเหล็กที่ใช้พลังงานไอน้ำ 0.5 แรงม้า รูปร่างของมันเหมือนกันคนที่สวมชุดเกราะ สามารถเดินด้วยความเร็ว 9 ไมล์ต่อชั่วโมง (14.5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) และสามารถลากของที่ไม่หนักมากได้
ในปี 1898 นิโคไล เทสล่า ได้นำเรือดำนำควบคุมระยะไกลมาแสดงที่เมดิสัน สแควร์ การ์เด้น ทำให้มีผู้ค้นสนใจเป็นอย่างมาก เขาเคยเขียนบอกไว้ว่าซักวันหนึ่งเราจะสร้างเครื่องจักรที่มีสมอง และสามารถทำงานได้ด้วยตนเอง ความคิดของเขายังคงไม่เป็นจริงจนกระทั่งเข้ายุคศตวรรษที่ 20 เหล่านักวิจัยและวิศวกรเริ่มหันมาสนใจกันอย่างจริงจังมากขึ้น เพื่อใช้ในงานที่หลากหลายชนิด อย่างเช่นในการทหาร การบิน อุตสหกรรมยา และวงการบันเทิง ในปี 1950 วิศวกรสามารถสร้างเครื่องจักรที่ทำงานเสี่ยงตายแทนมนุษย์ได้ โดยเฉพาะในช่วงยุคเฟืองฟูของอุตสหกรรมยานยนต์ เพราะพวกหุนยนต์สามารถทำงานซ้ำแบบเดิมได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำกว่ามนุษย์ โดยใช้โครงสร้างที่เหมือนกับแขนของมนุษย์ ใช้สำหรับการยก หยิบ จับ
ในปี 1986 บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ สามารถสร้างต้นแบบหุ่นยนต์ที่มีสองขาเดินได้เหมือนกับมนุษย์ เรียกว่า “P-1” โดยทางบริษัทหวังจะพัฒนาโปรเจคต่อไปในอนาคต เพื่อสร้างหุ่นยนต์ที่จะมารับใช้มนุษย์ ไม่ใช่นำมาใช้เฉพาะในงานเฉพาะกิจ พวกเขาได้ทำงานกันอย่างหนักจนได้ต้นแบบที่สมบูรณ์ที่ปี 1997 ในรุ่น P-3 ซึ่งมีรูปร่างเหมือนกับนักบินอวกาศ ด้านหลังมีกระเป๋าแบตเตอรี่ขนาด 136 โวลต์ มีระบบควบคุมไร้สาย โดยหุ่นยนต์ตัวนี้มีความสามารถในการเดินบนที่ราบ ขึ้นบันได หยิบจับวัตถุต่าง ๆ แม้แต่รักษาสมดุลของตัวเองไม่ให้ล้มเมื่อถูกพลัก และหลักจากการเปิดตัวหุ่นยนต์ล่าสุดอย่าง “อาซิโม” ถือว่าเป็นการเปิดยุคแข่งขันการประดิษหุ่นยนต์อย่างแท้จริง และตอนนี้เราก็มีการวางแผนจะนำมันไปใช้นอกโลกอีกด้วย